ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. อาจารย์ผู้สอนนำตัวอย่างโครงงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และประโยชน์มาให้นักเรียนศึกษา
2. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาและทบทวนบทเรียนเกี่ยวกับลักษณะของโครงงานคอมพิวเตอร์
3. ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับการใช้และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
4. ให้นักเรียน สรุปความหมายและประโยชน์ของโครงงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าแล้วบันทึกให้ได้มากที่สุด
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มประมาณ 4-5คน
2.นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโครงงาน จากหนังสือเรียน หรือศึกษาค้นคว้าจาก Internet
3. นักเรียนภายในกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็น และตอบคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโครงงาน
3. นักเรียนร่วมกันศึกษาขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
3.1 คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
3.2 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3.3 จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โดยปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธภาพ ถูกต้องและเหมาะสม
3.4 การลงมือทำโครงงาน
3.5 การเขียนรายงาน
3.6 การนำเสนอและแสดงโครงงาน
3.4 การลงมือทำโครงงาน
3.5 การเขียนรายงาน
3.6 การนำเสนอและแสดงโครงงาน
4. สมาชิกกลุ่มร่วมกันอภิปรายลักษณะของโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
1. นักเรียนร่วมกันสรุปว่า โครงงานพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไรสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
2. นักเรียนสรุปวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานว่าตรงกับจุดประสงค์ที่ได้รับหรือไม่
3. การทำโครงงานคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกฝนนักเรียน
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่น ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ทำให้ผู้เรียนรู้จักใช้เหตุผลและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วๆไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้
ขั้นตอนการทำโครงงาน
1.การทำโครงงานมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การคิดและการเลือกหัวเรื่อง ผู้เรียนจะต้องคิดและใช้เหตุผลในการเลือกหัวข้อเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด ทำไมจึงอยากศึกษาเรื่องนั้น หัวเรื่องของโครงงานที่ได้มักจะได้มาจากปัญหา คำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน การกำหนดหัวเรื่องของโครงงานนั้นมีแหล่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิด ความรู้และรอบรู้ ตามความสนใจจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์ การสนทนากับบุคคลต่างๆ หรือจาการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
- ความเหมาะสมของระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
- วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้
- งบประมาณ
- ระยะเวลา
- ความปลอดภัย
- แหล่งความรู้
1.2 การวางแผนการทำโครงงาน จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน แล้วนำเสนอต่อผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป การเขียนเค้าโครงของโครงงาน โดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
- ชื่อโครงงาน ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง
- ชื่อผู้ทำโครงงาน
- ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
- หลักการและเหตุผลของโครงงาน จะต้องใช้เหตุผลในการคิด ตัดสินใจ ซึ่งการใช้เหตุผลในการเลือกทำโครงงานจะสามารถอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มีความสำคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล
- จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง และสามารถวัดได้ เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น
- สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับและที่สำคัญ คือ เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบได้ นอกจากนี้ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย
- วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินงาน จะต้องอธิบายว่า จะออกแบบการทดลองอะไรอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้างรวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ มีอะไรบ้าง
- แผนปฏิบัติงาน อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เอกสารอ้างอิง
1.3 การดำเนินงาน เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ ผู้เรียนต้องพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่างๆ ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบและครบถ้วน
1.4 การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินงาน ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน
1.5 การนำเสนอผลงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานและเข้าใจถึงผลงานนั้น การนำเสนอผลงานอาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอประมาณต่อประเภทของโครงงาน เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย สิ่งสำคัญคือ พยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชม มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา
2. การเขียนรายงานโครงงาน
การเขียนรายงานโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอผลงานของโครงงานที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ต้นจนจบ การกำหนดหัวข้อในการเขียนรายงานผู้เรียนจะต้องมีความรู้และรอบรู้เกี่ยวกับโครงงาน อาจไม่ระบุตายตัวเหมือนกันทุกโครงงาน ส่วนประกอบของหัวข้อในรายงานต้องเหมาะสมกับประเภทของโครงงานและระดับชั้นของผู้เรียน องค์ประกอบของการเขียนรายงานโครงงาน แบ่งกว้างๆ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนปกและส่วนต้น ส่วนปกและส่วนต้น ประกอบด้วย
- ชื่อโครงงาน
- ชื่อผู้ทำโครงงาน ชั้น โรงเรียน และวันเดือนปีที่จัดทำ
- ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
- คำนำ
- สารบัญ
- สารบัญตาราง หรือภาพประกอบ (ถ้ามี)
- บทคัดย่อสั้นๆ ที่บอกเค้าโครงอย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วย เรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ระยะเวลา และสรุปผล
- กิตติกรรมประกาศ เพื่อแสดงความขอบคุณบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
- บทนำ บอกความเป็นมา ความสำคัญของโครงงาน บอกเหตุผล หรือเหตุจูงใจในการเลือกหัวข้อโครงงาน
- วัตถุประสงค์ของโครงงาน
- สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
- การดำเนินงาน อาจเขียนเป็นตาราง แผนผังโครงงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหัวข้อเรื่อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน และพิสูจน์คำตอบ (สมมติฐาน) ตามประเด็นที่กำหนด ดังตัวอย่างการเขียนแผนผังโครงงานต่อไปนี้
ในแผนผังโครงงานทำให้เห็นระบบการทำงานอย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผนการทำงาน จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ต้องการทราบ คือ หัวข้อย่อย หรือคำถามย่อยของหัวข้อโครงงาน ถ้ามีมาก ๑ ข้อ ก็จะเรียงลำดับทีละหัวข้อ พร้อมทั้งบอกสมมติฐาน วิธีศึกษา และแหล่งศึกษาค้นคว้าตามแผนผังให้ครบทุกข้อตามสิ่งที่ต้องการทราบ หัวข้อย่อยจากหัวข้อเรื่องของโครงงานที่ต้องการหาคำตอบ การตอบคำถามล่วงหน้า ค้นคว้า สอบถาม สัมภาษณ์ สังเกต ศึกษาโดยการดู-ฟัง จากสื่อชนิดต่างๆ - เอกสาร หนังสือ - สถานที่ บุคคล
- สรุปผลการศึกษา เป็นการอธิบายคำตอบที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตามหัวข้อย่อยที่ต้องการทราบ ว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่
- อภิปรายผล บอกประโยชน์ หรือคุณค่าของผลงานที่ได้ และบอกข้อจำกัดหรือปัญหา อุปสรรค (ถ้ามี) พร้อมทั้งบอกข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้า โครงงานลักษณะใกล้เคียงกัน
3. ส่วนท้าย
ส่วนท้าย ประกอบด้วย
- บรรณานุกรมหรือ เอกสารอ้างอิง หรือเอกสารที่ใช้ค้นคว้า ซึ่งมีหลายประเภท เช่น หนังสือ ตำรา บทความ หรือคอลัมน์ ซึ่งจะมีวิธีการเขียนบรรณานุกรมต่างกัน เช่น
หนังสือ ชื่อ นามสกุล. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์
บทความในวารสาร ชื่อผู้เขียน"ชื่อบทความ"ชื่อวารสาร.ปีที่หรือเล่มที่:หน้า ;วัน เดือน ปี.
คอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียน "ชื่อคอลัมน์ : ชื่อเรื่องในคอลัมน์" ชื่อหนังสือพิมพ์.วัน เดือน ปี. หน้า.
- ภาคผนวก เช่น โครงร่างโครงงาน ภาพกิจกรรม แบบสอบถาม บทสัมภาษณ์
ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้
1. นักเรียนบอกขั้นตอนการทำโครงงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และสามารถบอกขั้นตอนการทำโครงงานในขั้นต่างๆได้
2. นักเรียนบอกประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้
3. สามารถนำงานคอมพิวเตอร์ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามขั้นตอนและมีคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
4. นักเรียนรู้จักอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์และรู้จักการใช้แถบเมนูต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง